1/10/2552

มิดะ

อยากรู้ความหมายที่แท้จริงของมิดะ จากบทเพลงคุณจรัญ มโนเพชร ว่ามีชื่อมิดะจริงหรือไม่ ก็เลยค้นหาข้อมูลดูพบว่ามีเว็บไซด์ที่น่าสนใจ เขียนไว้ก็เลยขอนำมาให้อ่านกัน หลังจากทำการค้นหาก็พบว่ามีความเห็นที่แตกต่างกันอยู่บ้าง ในเว็บ http://www.hilltribe.org/thai/akha/akha-mida.php
ไม่มีมิดะ ในเผ่าอีก้อหรืออาข่า ซึ่งขอหยิบยกประโยคจากเว็บนี้ดังนี้

"อย่าง เช่นเป็นโอกาสดีของผมที่ได้ไปศึกษาวัฒนธรรมของอาข่าที่อยู่อีกประเทศหนึ่ง คือประเทศลาว ซึ่งมีชนเผ่าอาศัยอยู่ที่นั่นเยอะเหมือนกัน ได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกันถึงเรื่องราว และวิถีความเป็นอยู่ของอาข่าที่อยู่ในประเทศลาว กับลุงที่เป็นอาข่าคนหนึ่ง อายุประมาณ 50 กว่าแล้ว ผมบอกกับแกว่าในเมืองไทยมีเรื่องของ มิดะ ด้วยที่คอยสอนเรื่องกามวิธีให้กับหนุ่มอาข่าที่จะแต่งงานกัน ผมถามแกต่อว่าเคยได้ยินบ้างหรือป่าว ? แกก็ตอบมาอย่างเต็มปากว่า อายุจนปูนนี้แล้ว ยังไม่เคยได้ยินเลย แกบอกว่าของเราก็มีแต่ "หมี่ดะ" นี่ไม่ใช่ มิดะ และหมี่ดะ ก็คือผู้หญิงธรรมดาของอาข่าที่ยังไม่ได้แต่งงาน พูดง่าย ๆ ว่ายังไม่มีผัวเป็นตัวเป็นตน ไม่มีตำแหน่งใด ๆ เลย ไม่มีที่ว่าสอนเรื่องกามวิธีให้กับหนุ่มที่กำลังจะแต่งงานกัน

หลัง จากที่ได้พูดคุยกับลุงคนนั้นแล้วก็ได้มีโอกาสคุยกับไกด์ท้องถิ่นที่เป็นชน เผ่า ขมุ หรือลาวเทิ่ง แกบอกว่าเมื่อก่อนในชนเผ่าขมุนั้นมีตำแหน่งที่ขึ้นคล้าย ๆ กับ มิดะอยู่ แต่จะมีด้วยกัน 2 คน คือ ผู้ชาย 1 คน ผู้หญิง 1 คน ซึ่งก็มีหน้าที่ในการสั่งสอนเรื่องกามวิธีให้กับหนุ่มสาวที่จะแต่งงานกัน หนุ่มสาวที่จะแต่งงานกันต้องเสียความบริสุทธิ์ให้กับ 2 คนนี้ก่อน ถ้าใครไม่ยอมเสียความบริสุทธิ์ให้กับ 2 คนนี้ ถือว่าผิดประเพณี หรือไม่เคารพในกฎของเผ่าที่มีอยู่ จะถูกเนรเทศออกจากหมู่บ้าน ......แต่ของเค้าไม่ได้ชื่อมิดะ ผมก็ถามด้วยความอยากรู้ว่า ตำแหน่งที่ว่านี้ มีชื่อว่าไรล่ะ? แล้วปัจจุบันยังมีอยู่หรือเปล่า เค้าบอกว่าจำชื่อไม่ได้ และปัจจุบันก็ไม่มีแล้ว จากที่นี่เราจะเห็นว่าตำนานเรื่อง มิดะ มาจากความไม่ละเอียดของข้อมูลหรือเปล่า ?????? บางทีเราอาจต้องมองเชิงลึกกว่านี้ ประเพณีวัฒนธรรมของชนเผ่าย่อมต่างกันโดยสิ้นเชิง สลับซับซ้อนเกินที่เราจะเข้าใจในระยะเวลาเพียงอันสั้น"

ถ้าสนใจอ่านเนื้อหาเต็มได้ที่ http://www.hilltribe.org/thai/akha/akha-mida.php

อีกมุมหนึ่งจากเว็บ http://www.vcharkarn.com/varticle/21
ซึ่งนำข้อมูลจากบทความของคณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้พูดถึงประเพณีที่สำคัญของชาวอาข่าไว้ดังนี้ "ประเพณีติวตา
ติวตา เป็นประเพณีกำหนดให้ หนุ่มสาวอีก้อ ที่เพิ่งแตกเนื้อหนุ่มสาวต้องผ่าน พิธีกรรม เกี่ยวกับเพศเสียก่อน เด็กหนุ่มจะเข้าพิธี คะจีมิดะ โดยมีครูผู้สอนเป็นหญิงวัยกลางคน ที่ยังไม่แต่งงาน ส่วนเด็กสาวย่างเข้า 14-15
ปี จะเข้าพิธี คะจีระดะ ซึ่งเป็น พิธีเสีย พรหมจารี ให้กับชายกลางคนที่ยังโสดเรียกว่า ปู่จี โดยจะสอนให้เรียนรู้เพียงคืน เดียว ถ้าอีก้อสาวใด เกิดตั้งท้องหลังจากเข้าพิธีนี้แล้ว ถือว่าเด็กที่เกิดมาเป็นลูกเทวดา
หนุ่มสาวจะพบปะ และเกี้ยวพาราสีโดยเสรี การได้เสียก่อนไม่ถือเป็นเรื่องเสียหาย แต่ต้องไม่กระทำภายในบ้าน เมื่อหนุ่มสาวรักใคร่กัน ฝ่ายชาย จะส่งญาติผู้ใหญ่ หรือเถ้าแก่ ไปสู่ขอ มีการฆ่าหมูและนำสุรามาเลี้ยง การตกลงเรื่องสินสอดเป็นไป ตาม ฐานะ ทั้งสองฝ่าย สินสอด ถือว่าเป็นการเสียผี พิธีแต่งงานจัดที่บ้านฝ่ายชายเจ้าสาว แต่งขาวตลอด ส่วนเจ้าบ่าวแต่งตัว ในชุดธรรมดาที่เคยใช้อยู่ พิธีแต่งงานใช้เวลา3 วัน ติดต่อกันลูกที่เป็นสมาชิกใหม่ของอีก้อทุกคู่ จะได้รับการดูแลเอาใจใส่จากหมอผีประจำหมู่บ้าน เพื่อป้องกันผีป่ามาทำร้าย ถ้าคลอดบุตรเป็นฝาแฝด จะถูกหมอผีฆ่าทิ้งโดยนำขี้เถ้า อุด ปากจนตาย ส่วนพ่อแม่ทารก จะถูกขับออกจากหมู่บ้าน จนครบหนึ่งปีเต็มจากที่กล่าวถึงประเพณีติวตานั้น จะเห็นได้ว่า พิธี คะจีมิดะ นั้นครูผู้สอนเป็นหญิงวัย กลางคน ซึ่งแตกต่างไปจากเพลงกล่าวเอาไว้ว่า มิดะนั้นเป็นสาวรุ่นที่มีความงามแต่สิ่ง หนึ่งที่อดคิดไม่ได้คือ ในเมื่อพิธีปูจี นั้น คือการสอนให้สาวอีก้อรู้จักกามวิธีแล้ว วิธีใด กันแน่ ที่จะนำมาใช้ในการคัดเลือกมิดะ แล้วมิดะนั้น ไม่ต้องผ่านพิธีปูจีหรือ และหากว่า มิดะนั้นเป็นหญิงสาวที่ไม่ผ่านการแต่งงาน ไฉนจึงสามารถสอนหนุ่มอีก้อนั้นได้ด้วยเหตุ นี้ จึงคิดว่า มิดะนั้น น่าจะผ่านพิธีปูจี หากแต่ ไม่ผ่านพิธีการแต่งงานเพราะการที่ไม่แต่ง งาน ไม่ได้หมายความว่า จะเป็นสาวที่ยังไม่เสียพรมจรรย์ นี่เป็นเพียงการตีความเท่านั้น จึงไม่อาจบอกได้ว่า ความเข้าใจดังกล่าวนั้นถูกต้องหรือไม่ หากมีโอกาสก็คงได้ศึกษา เพิ่มเติม

ลานสาวกอดในชุมชนอาข่า
ลานสาวกอด หรือในภาษาอาข่าเรียกว่า "แดห่อง" เป็น สถานที่ สำคัญ ทางประเพณีของหมู่บ้าน
ชาวอาข่าถือว่า ที่บริเวณ ลานสาวกอด นี้มี บรรพบุรุษ ดูแลรักษาอยู่ และจะต้องประกอบพิธีกรรมบวงสรวงให้แก่บรรพบุรุษปีละ 1 ครั้ง โดยผู้อาวุโสฝ่ายหญิงชายและผู้นำทางประเพณีจะเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมนั้น
ลานสาวกอด จะตั้งอยู่บริเวณทิศใต้ของ "ชิงช้าประเพณี" ประจำหมู่บ้าน ชาวเขาหนุ่ม สาวและ "ผู้รู้" จะต้องมาร่วมร้องเพลง เต้นรำที่ลานแห่งนี้ในยามค่ำคืน อย่างน้อยที่สุด เดือนละ 2 ครั้ง โดยเชื่อว่าเพื่อเป็นการให้ชีวิตแก่ "แดห่อง" แต่แท้จริงแล้ว เหตุผล เบื้อง หลังความเชื่อนั้น คือ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนโดยเฉพาะคนหนุ่มสาว ไม่ว่าใครจะมีเรื่องขัดแย้งกับใคร แต่เมื่อมา ถึงลานสาวกอดแล้ว ทุกคนต้องทำตาม
บทบาท หน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ด้วยการร้องเพลงและสนุกสนาน.....


ความสำคัญอีกประการหนึ่งของลานสาวกอดที่มีต่อชาวอาข่า คือ การถ่ายทอด วัฒนธรรม ประเพณีวิถีชีวิตที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษผ่านเสียงเพลง ในค่ำคืน ยามฟ้าโปร่ง เสียงเพลง ที่เอื้อนเป็นทำนอง จะดังก้องไปทั่งทั้งหุบเขา โดยมี "ผู้รู้" เป็นผู้นำในการร้องเพลง เนื้อหาของเพลง จะบรรยาย ภาพชีวิต ของผู้คนใน แต่ละ ช่วงว่ากำลังทำอะไร หากเป็นช่วงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็น เดือนของการ ลำเลียง ข้าวจากยุ้งฉางไปปลูกยังไร่นา และมีขั้นตอน การปลูก อย่างไร หากเป็น เดือนพฤศจิกายน เนื้อเพลิงจะเกี่ยว ข้องกับการเก็บเกี่ยว อยู่เต็มไร่ อากาศที่เริ่ม หนาวเย็น ใบของต้นนางพญาเสือโคร่งที่ร่วงจากต้น เตรียมออกดอกสีชมพู
บทเพลง เหล่านี้จะสอนให้คนหนุ่มสาว เด็กๆ ที่มาอยู่ รวมกัน รู้ว่าภาระ ในแต่ละ เดือน แตก ต่าง กันอย่างไรบ้าง และพวกเขา จะช่วย กัน ได้อย่างไร

คนกลุ่มหลักที่จะมายังลานสาวกอดคือ คนหนุ่มสาวอายุระหว่าง 13 - 22 ปี ซึ่ง ต้องการมาพบปะสังสรรค์กัน
โดยทั่วไปแล้ว การนัดหมาย ที่จะมายัง ลานสาวกอด นั้น จะกระทำโดยคนหนุ่ม ซึ่งจะไปตามบ้านต่างๆ
พร้อมกับชี้แจง วัตถุประสงค์และเวลา บางครั้งอาจต้องเสนอเงื่อนไขเพื่อให้สาวๆ ได้มาร่วม
ที่ลานสาวกอดในค่ำคืนนั้น"


อย่างไรก็ดีความหมายของมิดะนั้นจะมีความจริงเป็นเช่นไรนั้น ก็ต้องขอคารวะ บทเพลงตำนานของคุณจรัญไว้ด้วยเนื่องจากมีความน่าสนใจในประวัติศาสตร์อย่างน้อยคนรุ่นใหม่จะได้รู้ถึงวัฒนธรรมประเพณี นอกจาคุณค่าของความไพเราะของเพลงแล้ว





ไม่มีความคิดเห็น: